เมนู

กระทำให้วิจิตรในบางอย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นสัตว์หมู่อื่นแม้สักหมู่หนึ่ง ที่วิจิตร
เหมือนสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั่นแหละเป็น
ธรรมชาติวิจิตรกว่าสัตว์เดียรัจฉานแม้เหล่านั้นแล ดังนี้.

อธิบายคำว่าอุปปันนธรรม 4



พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อุปฺปนฺนํ โหติ นี้ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า อุปปันนะ มีประเภทหลายอย่างด้วยสามารถแห่ง
วัตตมานอุปปันนะ ภูตาปคตอุปปันนะ โอกาสกตอุปปันนะ และ
ภูมิลัทธอุปปันนะ.
บรรดาวัตตมานอุปปันนะเป็นต้นเหล่านั้น ธรรมชาติแม้ทั้งหมดกล่าว
คือความพรั่งพร้อมด้วยความเกิดขึ้น ความแก่ และความดับ ชื่อว่า วัตต-
มานอุปปันนะ
กุศลและอกุศลที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป กล่าวคือ
เสวยแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่เข้าถึงหมวด 3 มีอุปปาทขณะเป็นต้นแล้ว
ก็ดับกล่าวคือเกิดแล้วก็ดับด้วย กุศลและอกุศลที่ปัจจัยปรุงแต่งที่เหลือด้วย
ชื่อว่า ภูตาปคตอุปปันนะ กรรมที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นว่า กรรมทั้งหลาย
เหล่านี้ใดที่กระทำไว้แล้วในกาลก่อน ดังนี้ แม้เป็นอดีต และเพราะห้ามวิบาก
อื่นที่มีอยู่แล้ว ให้โอกาสแก่วิบากของตน และวิบากที่มีโอกาสอันกระทำแล้ว
อย่างนั้น มีอยู่แม้ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโอกาสทำแล้ว
อย่างนั้น ชื่อว่า โอกาสกตอุปปันนะ อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นในภูมิทั้งหลาย
นั้น ๆ ชื่อว่า ภูมิลัทธอุปปันนะ บัณฑิตพึงทราบความต่างกันแห่งภูมิและ
ภูมิลัทธะ ในคำว่า ภูมิลัทธอุปปันนะต่อไป. ขันธ์ 5 เป็นไปในภูมิ 3 เป็น
อารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ การเกิดขึ้นแห่งกิเลสอันควรแก่การเกิดขึ้น